Language

ZUIHODEN  The mausoleum Masamune Date of the first feudal load  of Sendai-Han

กล่องคำถาม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับซุยโฮเด็น

เกี่ยวกับซุย
โฮเด็นและสุสานบูชาดวงวิญญาณ

B-1. โปรดบอกความสัมพันธ์ระหว่างซุยโฮเด็นกับดาเตะ มาซามูเนะ

ดาเตะ มาซามูเนะจบชีวิตลงด้วยวัย 70 ที่คฤหาสน์เอโดะซากุระดะคามิเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ปี 1636 ศพเขาถูกส่งไปที่เซนไดและฝังกลบที่เคียวกะมิเนะตามพินัยกรรมของเขาเอง ซึ่งซุยโฮเด็นเป็นที่เก็บศพที่ถูกสร้างขึ้นบนสุสานเพื่อเป็นสุสาน (สุสานบูชาดวงวิญญาณ : โบสถ์ / เทวสถาน) ในการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของดาเตะ มาซามูเนะ

B-2. ผู้ที่ก่อสร้างซุยโฮเด็นคือใคร

ดาเตะ ทาดามูเนะ ผู้ครองแคว้นคนที่ 2 ได้สั่งให้โอคุยามะ ซึเนะโทคิซึ่งเป็นบุเกียว (เจ้าหน้าที่ซามูไรอันดับสูงสุด) เป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างสุสานเพื่อเซ่นไหว้ดวงวิญญาณดาเตะ มาซามูเนะ (บิดา) ซึ่งเป็นผู้ครองนครคนแรกของแคว้นเซนได

B-3. โปรดบอกระยะเวลาในการก่อสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างซุยโฮเด็น

ใน “บันทึกเทซังโคจิกะคิโระคุ” (เอกสารเก่าที่บันทึกเกี่ยวกับการเมืองของดาเตะ มาซามูเนะ) นั้น เขียนไว้ว่าได้ทำการฝังศพของดาเตะ มาซามูเนะที่เคียวกะมิเนะ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ปี 1636 และใน“บันทึกกิซังโคจิกะคิโระคุ” (เอกสารเก่าที่บันทึกเกี่ยวกับการปกครองของดาเตะ ทาดามูเนะ) ระบุไว้ว่าเริ่มก่อสร้างสุสานเมื่อเดือนกันยายน ปี 1636 และให้ชื่อว่าซุยโฮเด็น โดยสร้างเสร็จ (สมบูรณ์) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ปี 1637 ให้ทราบว่าระยะเวลาจนสุสานแล้วเสร็จรวมถึงการก่อสร้าง (งานก่อสร้างโยธา) ในเคียวกะมิเนะคือเพียง 1 ปีเท่านั้น

B-4. โปรดบอกที่มาของชื่อซุยโฮเด็น

ไม่มีเอกสารที่บันทึกที่มาเกี่ยวกับชื่อของซุยโฮเด็น แต่ตัวอักษร “瑞” อยู่ภายในฉายาทางธรรม “ซุยกันจิเด็ง เทซัง เซ็นริ ไดโกะจิ” ของดาเตะ มาซามูเนะ และตัวอักษร “鳳” คาดว่าแสดงถึงนกนำโชคหรือหงส์ในจินตนาการซึ่งเป็นที่เคารพกันในประเทศจีนมาตั้งแต่สมัยก่อน ส่วนตัวอักษร “殿” นั้นโดยทั่วไปแสดงถึงสิ่งก่อสร้าง เช่น วัดและศาลเจ้า อีกทั้งยังกล่าวกันว่าชิ่อนี้มีที่มาจากในตัวเนื้อความของแผ่นจารึก (แผ่นที่ตอกติดบนไม้ทำสันของหลังคาและบันทึกที่มาในการก่อสร้าง) ในซุยโฮเด็นก่อนไหม้สาบสูญที่ว่า “อาคารถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิคที่ยอดเยี่ยม อีกอย่างหงส์เป็นมงคลนามและแสดงถึงโลกที่สงบสุขและมีความสุขที่เราอาศัยอยู่ในวันนี้” โดยมีตัวอักษร “瑞” และ “鳳凰” รวมอยู่ด้วย

B-5. โปรดบอกโครงสร้างของเรือนหลักในซุยโฮเด็น

ซุยโฮเด็นเป็นสุสานที่มีชื่อว่า ทามายะ (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) โครงสร้างของสุสานนั้น หลังจากที่ฝังศพในห้องในสุสานใต้ดินแล้ว มีการสร้างอาคารโบสถ์ (โบสถ์ / เทวสถาน) ไว้บนพื้นดินเพื่อเซ่นไหว้ผู้ตายโดยวางแท่นบูชาไว้ภายในอาคารและมีรูปสลักไม้ที่แสดงรูปร่างในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ก่อนเสียชีวิตของผู้ฝังศพประดิษฐานอยู่ด้วย

B-6. ซุยโฮเด็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ด้วยรูปแบบเดียวกันกับซุยโฮเด็นก่อนถูกไฟไหม้หรือไม

ซุยโฮเด็นถูกสร้างขึ้นโดยดาเตะ ทาดามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 2 ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1637 แต่ไหม้เนื่องจากการโจมตีทางอากาศเซนไดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1945 และถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยวิธีก่อสร้างปัจจุบันแบบโครงสร้างคอนกรีตเมื่อปี 1979 โดยในปี 2001 ได้มีการดำเนินการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่และการตกแต่งก็มีความใกล้เคียงกับในตอนครั้นก่อสร้างเมื่อปี 1637 เป็นอย่างมาก

B-7. ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างกรณีสร้างซุยโฮเด็นใหม่ด้วยรูปแบบเดียวกันกับก่อนที่ถูกไฟไหม้นั้นเท่าไหร่

ยังไม่ได้มีการคำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างกรณีสร้างซุยเด็นใหม่ด้วยรูปแบบเดียวกัน (วัสดุ, วิธีการก่อสร้าง, เงื่อนไขเดียวกัน) กับตอนที่ก่อสร้างในสมัยนั้น ซึ่งสาเหตุปัจจัยที่คำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในตอนนั้นโดยเทียบกับจำนวนเงินในปัจจุบันได้ยากคือ การที่ไม่สามารถประเมินวัสดุและเทคโนโลยีในสมัยที่ก่อสร้างครั้งนั้นด้วยค่ามาตรฐานปัจจุบันในระดับเดียวกันได้ อีกทั้ง ยังไม่มีบันทึกที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในเอกสารเก่าของตระกูลดาเตะอีกด้วย อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีการก่อสร้างทามายะ (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) รวมถึงการก่อสร้างในเคียวกะมิเนะ (งานก่อสร้างโยธา) ด้วยเวลาเพียง 1 ปี ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีการใช้แรงงานคนจำนวนมาก

B-8. โปรดเปรียบเทียบระหว่างซุยโฮเด็นที่ถูกสร้างใหม่กับซุยโฮเด็นเดิมก่อนถูกไฟไหม้

เรือนหลักในซุยโฮเด็นที่ถูกสร้างใหม่นั้นเป็นแบบชั้นเดียวโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาทรงเหลี่ยม (หลังคาเต็นท์) ปูกระเบื้องหลังคาแผ่นทองแดง 33.6 F = 33 ตารางเมตร (เรือนหลักเดิมก่อนไฟไหม้และพื้นที่ใช้สอยอาคารเดียวกัน) ความสูงชายคา 4.11 เมตร ความสูง (รวมส่วนปลายไข่มุกไฟ) 9 เมตร ส่วนเรือนสักการะที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นั้นแบบชั้นเดียวโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (หมายเหตุ : เรือนสักการะที่สร้างขึ้นใหม่นั้นถูกออกแบบเป็นเรือนสักการะแบบแบ่งเป็นสองฝั่ง ทำให้มีลักษณะภายนอกและขนาดต่างกันกับเรือนสักการะก่อนไฟไหม้) หลังคาปูด้วยแผ่นทองแดงหน้าจั่ว 51.8 F = 52 ตารางเมตร (ประมาณ 1/2 ของพื้นที่ใช้สอยเรือนสักการะเดิมก่อนไฟไหม้) ความสูงชายคา 2.9 เมตร ความสูงสันหลังคา 5.2 เมตร และประตูสุสานเนะฮันมงที่สร้างขึ้นใหม่เป็นแบบชั้นเดียวโครงสร้างไม้ หลังคาปูด้วยแผ่นทองแดงเป็นขั้นแบบหน้าจั่ว 5.78 F = 59 ตารางเมตร (ประตูสุสานเดิมก่อนไหม้และพื้นที่ใช้สอยอาคารเดียวกัน) ความสูงชายคา 2.8 เมตร ความสูงสันหลังคา 5.5 เมตร ส่วนที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้ที่สร้างใหม่ (อาคารปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ซุยโฮเด็น) เป็นแบบชั้นเดียวโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาปูเรียบด้วยทองแดงทรงปั้นหยา 137F = 137 ตารางเมตร (หมายเหตุ : ที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้ที่สร้างใหม่นั้นถูกออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ทำให้ลักษณะภายนอกและขนาดต่างกันกับที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้เดิมก่อนไฟไหม้) อีกทั้ง ที่ซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้นั้นจะมีระเบียงทางเดินข้ามเชื่อมระหว่างประตูจีนคาระมง เรือนหลัก และเรือนสักการะหน้าเรือนหลัก และระเบียงทางเดินรอบจากที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้ไปจนถึงด้านข้างเรือนหลัก แต่ได้มีการละเว้นออกจากการก่อสร้างใหม่

B-9. วัสดุก่อสร้างที่ถูกใช้ในการก่อสร้างใหม่ของซุยโฮเด็นได้มาจากที่ไหน

ส่วนตัวเรือนหลักและเรือนสักการะ (ตัวโครงสร้างอาคาร) ซึ่งสร้างขึ้นใหม่เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ประตูสุสานเนะฮันมงถูกสร้างขึ้นใหม่แบบโครงสร้างไม้และมีการใช้ต้นอาโอโมริฮิบะเป็นวัสดุก่อสร้าง อีกทั้ง น้ำรักที่ใช้ในการทาเรือนหลัก เรือนสักการะ และประตูสุสานเนะฮันมงนั้น มีการทาทับครั้งสุดท้ายด้วยน้ำรักระดับสูงผลิตในประเทศ

B-10. ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการก่อสร้างใหม่ของซุยโฮเด็นเท่าไหร่

ซุยโฮเด็นที่ถูกสร้างใหม่ด้วยวิธีการก่อสร้างปัจจุบันเมื่อปี 1979 (อ้างอิง B-8) ซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายรวม 8 ร้อยล้านเยนด้วยจำนวนเงินในสมัยนั้นกับเวลา 5 ปี รวมถึงการขุดสำรวจพบซากโบราณที่ดำเนินการก่อนก่อสร้างไปจนถึงการก่อสร้างเรือนหลัก เรือนสักการะ ประตูสุสานเนะฮันมงและสถานที่ที่เกี่ยวข้องแล้วเสร็จ

B-11. มีสิ่งของที่ไหม้ไม่หมดตอนที่ซุยโฮเด็นถูกไฟไหม้ หรือมีสิ่งของที่ไม่ได้ถูกบูรณะซ่อมแซมขณะก่อสร้างใหม่หรือไม่

ในปี 1945 มีกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรทำจากทองสัมฤทธิ์ซึ่งถูกติดตั้งไว้ที่มุมสันหลังคาของเรือนหลักที่ไหม้ไม่หมด ซึ่งซุยโฮเด็นรวมถึงประตูจีนคาระมงที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยวิธีการก่อสร้างในปัจจุบันในปี 1979 ได้มีการยกเว้นมิให้มีการแกะสลักหัวสิงโตที่ประดับเสามุมของเรือนหลักกับกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกร อีกทั้งเรือนสักการะได้ถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบเรือนสักการะแบบแบ่งเป็นสองฝั่งและกลายเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งของอาคารเดิมก่อนไฟไหม้ นอกจากนี้ ที่ประตูสุสานเนะฮันมงยังถูกละเว้นการแกะสลักรูปมังกรที่เคยประดับบริเวณฝั่งซ้ายขวาอีกด้วย อนึ่ง ในการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ที่ดำเนินขึ้นเมื่อปี 2001 นั้น ได้มีการบูรณะกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกร 8 หัว และหัวสิงโต 8 หัว รวมถึงส่วนที่มีการประกอบชิ้นไม้เข้าด้วยกันและไม้คานผลิตจากคอนกรีตที่เสื่อมสภาพอย่างเห็นได้ชัดเองก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นวัสดุไม้อีกด้วย

B-12. ปัจจุบันกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรที่ไหม้ไม่หมดตอนที่ซุยโฮเด็นเก่าไหม้อยู่ที่ไหน

ที่มุมสันหลังคาของซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้นั้น จะมีกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกร “A Un” รวม 8 ชิ้น (สร้างขึ้นโดยทาคาดะ คิวเบะในปี 1637) ถูกติดตั้งเอาไว้ โดยซุยโฮเด็นได้ไหม้เนื่องจากภัยจากสงครามเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1945 แต่กระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรทำจากทองสัมฤทธิ์นั้นโชคดีที่ไหม้ไม่หมด (ยังไม่ได้ตรวจสอบจำนวนที่ยังหลงเหลืออยู่) ซึ่ง 4 หัวภายในนั้น (A 1 หัว, Un 3 หัว) นั้น ตำบลมัตสึชิมะ (จังหวัดมิยางิ) เป็นผู้เก็บรักษา และอีก 2 หัว วัดซุยโฮจิ (เมืองเซนได) เป็นผู้เก็บรักษา และในวันที่ 24 พฤษภาคมปี 1999 2 หัว “Un” ภายในกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรที่ทางเมืองมัตสึชิมะครอบครองนั้น ได้ถูกส่งกลับซุยโฮเด็นที่มีการสร้างขึ้นใหม่ผ่านตระกูลดาเตะ (ดาเตะ ยาซุมูเนะหัวหน้าตระกูลรุ่นที่ 18) และถูกจัดแสดงอยู่ภายในพื้นที่ซุยโฮเด็นและภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ซุยโฮเด็น ทำให้ในปัจจุบันกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรที่ตรวจสอบได้นั้นมีอยู่รวม 6 หัว

B-13. มีสิ่งของสำคัญที่สูญหายจากการที่ซุยโฮเด็นถูกไฟไหม้หรือไม่

ซุยโฮเด็นซึ่งเป็นสมบัติของชาตินั้นได้ถูกไฟไหม้เนื่องจากการโจมตีทางอากาศเซนไดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1945 และสูญเสียคุณค่าในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (สิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์) ไม่สามารถแสดงให้เห็นเป็นรูปร่างได้ แต่อาจพูดได้ว่าเราได้สูญเสียมรดกทางจิตใจในฐานะสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของเซนไดไป

B-14. ทำไมถึงมีตราสัญลักษณ์ “คิคุ (ดอกเบญจมาศ)” ติดอยู่ที่ประตูสุสานเนะฮันมงของซุยโฮเด็น

ตระกูลดาเตะมีการใช้ตราสัญลักษณ์ประจำตระกูล “มิบิกิเรียว (วงกลมที่มีเส้นแนวนอนสามเส้น)” “คิคุ (เบญจมาศ)“ “คิริ (ต้นพอโลเนีย)” “โบะตัน (ดอกโบตั๋น)” “คานิโบะตัน (ปูและดอกโบตั๋น)” “คุโย (เทพนพเคราะห์)” และ“ยูกิอุสึ (หิมะบาง)” นอกเหนือจาก “ทาเกะนิซุซุเมะ (นกกระจอกในต้นไผ่)” ซึ่งเป็นตราประจำตระกูล ซึ่งตรา “คิคุ” และ “คิริ” เป็นตราที่ได้รับมาจากโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ นอกจากซุยโฮเด็นแล้วยังมีติดอยู่ที่วัดซุยกันจิ ศาลเจ้าโอซากิฮาจิมังกุ และปราสาทเซนไดที่ไฟไหม้เช่นกัน

B-15. ใครเป็นผู้เขียนตัวอักษรในกรอบรูปด้านยาวที่อยู่บริเวณเรือนสักการะในซุยโฮเด็น

ที่กรอบรูปด้านยาวบริเวณเรือนสักการะในซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้นั้นมีการลงชื่อเอาไว้ว่า “ซะบุนซัง ในวัย 76 ปี” (ซะบุนซัง : ซาซากิ บุนซัง (นักเขียนตัวอักษร)) อนึ่ง กรอบรูปด้านยาวที่บริเวณเรือนสักการะในซุยโฮเด็นซึ่งถูกสร้างใหม่นั้นเป็นกรอบรูปที่มีการบูรณะขึ้นใหม่โดยอ้างอิงจากภาพถ่ายของซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้

B-16. ส่วนที่ยอดเยี่ยมที่สุดในซุยโฮเด็นคือที่ไหน

ซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้เคยถูกกำหนดให้เป็นสมบัติของชาติในฐานะสถาปัตยกรรมสุสานรูปแบบโมโมยามะช่วงต้นยุคสมัยเอโดะ ส่วนซุยโฮเด็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในปี 1979 ด้วยวิธีการก่อสร้างแบบปัจจุบันจึงไม่ได้รับการระบุให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

B-17. โปรดบอกรายละเอียดการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ของซุยโฮเด็น

ซุยโฮเด็นหรือสุสาน (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) ของดาเตะ มาซามูเนะ ผู้ครองนครคนแรกของแคว้นเซนไดซึ่งถูกสร้างใหม่ในปี 1979 นั้น จากประวัติที่เคยถูกไฟไหม้จากภัยของสงครามทำให้มีการนำโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบทนไฟนำมาใช้ อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ก่อสร้างใหม่เวลาได้ผ่านล่วงเลยไป 20 ปีแล้ว วัสดุคอนกรีตจึงเกิดการเสื่อมสภาพ (ทรุดพัง) จึงได้รับการรายงานจากคณะกรรมการสำรวจสาเหตุการเสื่อมสภาพของสถาปัตยกรรมลงรักซุยโฮเด็นและคณะกรรมการประเมินการบูรณะซุยโฮเด็น และได้ดำเนินการบูรณะรอบด้านเริ่มจากส่วนพื้นฐานของตัวอาคาร (งานซ่อมแซมรอบด้านโดยเริ่มจากส่วนตัวอาคาร) รวมถึงได้มีการบูรณะฟื้นฟูกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกร 8 หัวและงานแกะสลักหัวสิงโต 8 หัวที่ถูกละเว้นไว้ในสมัยที่มีการสร้างใหม่ อีกทั้ง การตกแต่งเช่น ลายแกะสลักและตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ก็มีการฟื้นฟูด้วยโทนสีที่ใกล้เคียงในสมัยที่ก่อสร้างในปี 1637 อีกด้วย

B-18. ใครเป็นผู้ควบคุมดูแลซุยโฮเด็นที่ถูกสร้างขึ้นใหม่

ซุยโฮเด็นถูกสร้างขึ้นใหม่โดยสมาคมฟื้นฟูซุยโฮเด็นในปี 1979 และหลังจากนั้นทางมูลนิธิซุยโฮเด็นจึงได้เข้ามาบริหารจัดการนับจากนั้นเป็นต้นมา

B-19. นอกจากสถาปัตยกรรมสุสาน (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) อย่างซุยโอเด็นแล้ว มีอย่างอื่นอีกหรือไม่

สามารถเห็นได้ภายในสุสานไดเมียวคนอื่น ๆ ในสมัยเอโดะ อีกทั้ง แม้แต่ที่แคว้นเซนไดเอง ภายในตระกูลและผู้ครองแคว้นคนที่ 2 และ 3 ก่อนหน้าดาเตะ สึนามูระผู้ครองแคว้นคนที่ 4 ก็มีการสร้างสุสานที่เรียกกันว่า ทามายะ : สุสานบูชาดวงวิญญาณ (ทางมูลนิธิซุยโฮเด็นเรียกและเขียนแสดงว่า ทามายะ โดยรวมกับทามายะชิตะเขตอาโอบะ เมืองเซนไดซึ่งเป็นชื่อสถานที่ตั้งในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับซุยโฮเด็น